การคำนวณหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์อย่างง่าย
เข้าใจหลักการคำนวณเบื้องต้นภายใน 5 นาที
การติดตั้งโซลาร์เซลล์กลายเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดค่าไฟและใช้พลังงานสะอาด แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่า “แผงโซลาร์จะผลิตไฟได้กี่หน่วยต่อวัน?” หรือ “จะช่วยลดค่าไฟได้จริงแค่ไหน?” บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจวิธีการคำนวณหน่วยไฟฟ้า (kWh) ที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์อย่างง่ายและเข้าใจได้ทันที

วิธีคำนวณอย่างง่าย
หากเราต้องการจะติดตั้งโซลาร์ที่บ้านสักระบบหนึ่ง เราก็คงอยากจะรู้ว่าระบบที่เราจะติดตั้งนั้น มันผลิตไฟฟ้าให้เราได้กี่หน่วย (kWh) แล้วมันจะคุ้มไหม น่าลงทุนรึเปล่า
แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนนะคะว่า หน่วยไฟฟ้าในบิลค่าไฟ หรือที่พูดกันติดปากว่าค่าไฟหน่วยละ 5 บาท ซึ่งหน่วยตัวนี้ก็คือ kWh
เดี๋ยวจะยกตัวอย่างง่ายๆ ให้ฟังนะคะ สมมติว่าเราเดินเข้าไปซื้อแผงโซลาร์สัก 1 แผ่น ขนาดประมาณ 630 วัตต์ แล้วเอาไปตากแดด 1 ชั่วโมง
ไฟฟ้าที่ผลิตได้ควรจะเป็น 630 W x 1 h = 630 Wh
ถ้าแปลงเป็นหน่วยไฟฟ้า ก็จะได้ = 0.63 หน่วย (kWh)
ดังนั้น ถ้าเอาแผงไปตากแดด 3 ชั่วโมงล่ะ ไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็ควรจะเป็น 630 W x 3 h = 1,890 Wh หรือ 1.89 หน่วย (kWh)
คำถามถัดมาก็คือ แล้ววันๆ หนึ่งแสงแดดมันมีกี่ชั่วโมงต่อวัน หากหลายคนที่ได้อ่านบทความอื่นๆ ก็จะตอบว่าในประเทศไทยโดยเฉลี่ย มีแดดประมาณ 5 ชั่วโมง/วัน
บางคนอาจสงสัยว่า พระอาทิตย์ขึ้นตั้งแต่ 6 โมงเช้่า จนพระอาทิตย์ตก 6 โมง เย็น มันก็ 12 ชั่วโมง แล้วมันจะเป็น 5 ชั่วโมงได้ยังไง
นั่นก็เพราะว่า เวลาคำนวณไฟจากแผงโซลาร์ เขาจะดูจำนวนชั่วโมงที่ค่าแสงตอนที่มัน 1000 W/m2 เท่านั้น
คือใน 1 วันประเทศไทย ตั้งแต่ 6 โมงเช้า จนถึง 6 โมง เย็น ค่าแสงมันไม่เท่ากันตลอด ช่วงเช้าๆ หรือเย็นๆ ค่าแสงมันไม่แรงพอ ก็จะอยู่ประมาณ 50-100 W/m2 ซึ่งแผงโซลาร์ก็ผลิตไฟได้อยู่ แต่ได้ไฟน้อย
แต่พอตอนกลางวันแดดก็จะแรงหน่อย ค่าแสงอาจจะสูงขึ้น 1,200 W/m2
ดังนั้น ในประเทศไทยตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก ค่าแสงเฉลี่ยทั้งวันตอนที่ได้ 1000 W/m2 ก็จะประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวัน
ดังนั้นใน 1 วัน เอาแผงที่เราซื้่อไปตากแดด เราก็จะได้ไฟออกมา 630 W x 5 h = 3,150 Wh หรือ 3.15 หน่วย (kWh) ต่อวัน
ถ้าเอาไปตากแดด 1 ปี ก็จะได้ไฟออกมา 630 W x 5 h x 365 = 1,149,750 Wh = 1,149.75 หน่วยต่อปี
แต่!
ในความเป็นจริงแล้ว มันจะไม่ได้ไฟตามทฤษฎีแบบนั้น เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้แผงไม่สามารถผลิตได้ตามนี้ เช่น
- ทิศทางและมุมเอียงของแผงโซลาร์
- การบดบังของเงา: ต้นไม้ เสา หรืออาคารใกล้เคียง
- ฝุ่นและคราบสกปรก: ส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลง หากไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำ
- คุณภาพของอุปกรณ์: เช่น แผง อินเวอร์เตอร์ และระบบสายไฟ
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปประมาณ 25%
ดังนั้นไฟฟ้าที่ผลิตได้ใน 1 ปี ของความเป็นจริง จะประมาณ
630 W x 5 h x 365 x 75% = 630W x 1,368.75 = 862,313 Wh = 862.31 หน่วยต่อปี
ดังนั้น วิธีจำสูตรในการคำนวณง่ายก็คือ ให้เอากำลังการติดตั้งในหน่วย kW x 1,368.75 หรือถ้าจำตัวเลขยาก ก็ปรับเป็น 1,350
👍สรุป ก็คือ ถ้ามีคนมาถามว่า ติดโซลาร์ 5 kW จะผลิตไฟได้กี่หน่วย
คำนวณอย่างเร็วก็คือ 5 kW x 1,350 = 6,750 หน่วยต่อปี 😉
ที่เหลือหากจะนำไปคำนวณต่อเดือน ต่อวัน หรือประหยัดเท่าไหร่ ก็สามารถนำตัวนี้ไปคำนวณต่อได้
หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเลือกระบบขนาดไหนดี หรืออยากให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยประเมินหน่วยไฟที่เหมาะสมกับบ้านคุณ
SelfConcept พร้อมให้คำปรึกษาเบื้องต้นฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
-------------------------------------------
📌 สนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือต้องการคำปรึกษา?
✅ แอด LINE: selfconcept
📞 โทร: 093-637-4777
📧 อีเมล: [email protected]
-------------------------------------------
📘 อ่านเพิ่มเติม:
👉 อุปกรณ์ติดตั้งโซลาร์ที่ต้องมี
👉 ระบบป้องกันไฟไหลย้อนคืออะไร?
👉 วิธีเลือกอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสม
👉 รวมราคา Huawei Inverter ยอดนิยม ปี 2025
👉 โซลาร์พร้อมแบตเตอรี่ คุ้มไหมในปี 2025
👉 Hybrid On-Grid กับ Off-Grid ต่างกันอย่างไร? เลือกแบบไหนดีใน ปี 2025
👉 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ (Solar FQA)
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือเลือกดูสินค้าได้ในหมวด📦 สินค้าและอุปกรณ์